ภาพขยาย....


 

 

    เมนูลัก... พระอาจารย์ดิเรก อนุตฺตโร
  ประวัติวัดหนองทราย 
  ก่อกำเนิดวิหารวัดหนองทราย
  พระประธานในวิหารวัดหนองทราย
  พระอาจารย์ดิเรก อนุตฺตโร
  สืบสานต่อภูมิปัญญางานหล่อโบราณ
  วัตถุมงคล พระอาจารย์ดิเรก อนุตฺตโร
      - ข้อมูลวัตถุมงคลต่างๆ เบื้องต้น
      - พระปิดตารุ่นแรก " บูชาครู " ปี 59
      - เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 60
      - เหรียญพระพุทธหลังปิดตา ปี 61
      - รุ่น " วางศิลาฤกษ์พระวิหาร " ปี 61
      - รุ่น " ยกช่อฟ้าวิหาร " ปี 61
      - ที่ระลึกฉลองตราตั้ง จต. ปี 61
      - รุ่น " สร้างวิหาร " ปี 62
      - รูปเหมือนปั้มในไตรมาส 63
      - วัตถุมงคลหล่อโบราณชุดปี 2563
      - วัตถุมงคล เนื้อผง/ว่าน/ดินเผา
  กลุ่ม : ศิษย์พระอาจารย์อดิเรก อนุตตโร
    วัดหนองทราย 
  วัตถุมงคลวัดอื่นๆ 
      - วัดแก้วเจริญ  
      - วัดประดู่พระอารามหลวง
      -  พระพุทธชินราช " จำปีปลดหนี้ 63 "
      - ท้าวเวสสุวรรณ " ทรัพย์เหลือล้น "
      - เหรียญเสมา " พระสุภัทรบพิตร "
      - เหรียญ " พระนาคปรกเจริญพร "



 

:: หน้า 1 :: หน้า 2 :: หน้า 3 :: หน้า 4 :: หน้า 5 :: หน้า 6 :: หน้า 7 ::

 

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

กรรมวิธีในการปั้นหุ่นเทียนเบ้าดินไทยเทแบบโบราณ
รายละเอียด VDO 1 :: VDO 2 :: VDO 3 :: VDO 4 :: VDO 5 :: VDO 6 :: VDO 7 :: VDO 8

 

ภาพขยาย....

                          นี่เป็นพระพิฆเนศวรรึเปล่าครับ..... (บันทึกเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563)
                          " ช้างที่อาจารย์ทำ ก็ตั้งใจว่าให้เป็นพญาช้างฉัททันต์ ชาติหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยเกิดเสวยชาติเป็นพญาช้าง มีในชาดกพระเจ้า 500 ชาติ เมื่อครั้ง ที่ท่านเป็น พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีตามคติทางพระพุทธศาสนา แต่คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นพระพิฆเนศวร ตามคติทางพราหมณ์ก็ได้เหมือนกัน.. "

 

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ที่ระลึกเนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์พระใบฎีกา ปี 60 และพระสมุห์ ปี 61
พระอาจารย์อดิเรก อนุตฺตโร (โดย สมภพ โรจนเสถียร)

 

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
พระพิฆเนศ เนื้อสัมริด จำนวนสร้าง 1 องค์ พร้อมพระปิดตารุ่นแรก บูชาครู ปี 59 (โดย แอร์ ดอนมดดำ)


ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
               ในปี 60 พระอาจารย์ได้มีการจัดสร้างช้าง (พระพิฆเนศ) เนื้อสำริดศิลป์นี้ไว้ที่ทราบมีจำนวน 2 องค์ โค๊ตสูญนิพพานในหุ่นเทียน (ทำบนหุ่นเทียน)
และ ตอกโค๊ตพุทเมตตา โค๊ตเดียวกับเหรียญรุ่นแรกทุกเนื้อ ยกเว้นเนื้อทองแดงแจก (โค๊ตนี้ใช้ถึงช่วงต้นปี 61 ในชุดวัตถุมงคลบางส่วนใน รุ่นฉลองตราตั้ง
เจ้าคณะตำบล และพระสมุห์ วันอาทิตย์ที่ 25 มี.ค.61 เท่านั้น (โดย สมภพ โรจนเสถียร / ป้อสุพรรณ)


ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
               ช้าง (พระพิฆเนศ) ที่สร้างออกให้บูชาอย่างเป็นทางการในชุด 100 องค์ โดยจะมีการปั้นย่อส่วน (ตอกโค๊ตดาวด้านหลังที่ข้างสะโพก) เมื่อ 25 มี.ค.61     ดังนั้นวัตถุมงคลที่ทางวัดหนองทรายจัดสร้าง ก็อาจจะสามารถจำแนกช่วงปีของการสร้าง ก็ด้วยอาศัยโค๊ตต่างๆ มาประกอบได้อีกทาง

 

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ช้างยุคต้น เนื้อขันลงหิน พระอาจารย์อดิเรก อนุตฺตโร แห่งวัดหนองทราย (โดย สำเริง นัยเนตร์)

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ช้างจิ๋ว เนื้อสำริด ปี 61 จำนวนสร้าง (ตามจอง ) 100 องค์

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ช้างพิมพ์ใหญ่ ปี 63 เนื้อเมฆสิทธิ์ จำนวนสร้าง 319 องค์ / ช้างพิมพ์ใหญ่ ปี 63 เนื้อเมฆพัด จำนวนสร้าง 319 องค์

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ช้างจิ๋ว ปี 63 เนื้อเมฆสิทธิ์ จำนวนสร้าง 600 องค์ / ช้างจิ๋ว ปี 63 เนื้อเมฆพัด จำนวนสร้าง 600 องค์

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ช้างจิ๋ว เนื้อสำริดเงิน ปี 63 จำนวนสร้าง 600 องค์ / ช้างจิ๋ว เนื้อนาก ปี 63 จำนวนสร้าง 418 องค์

ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....      ภาพขยาย....
ช้างจิ๋วยุคต้น เนื้อนาก (โดย Mong Saima) / ช้างยุคต้น เนื้อขันลงหิน (เจี๊ยบ ราชวัตร)

 

       

ช้างหล่อโบราณ ขนาดบูชา เนื้อสำริด กว้าง 3.5 ซม. สูง 6 ซม. ไม่รวมฐาน (โดย นิว ด่านช้าง)
ประมูลทำบุญเพื่อสมทบทุนสร้างวิหารฯ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.61

 

 

                     ตำนานพญาช้างฉัททันต์  ในหนังสือฉัททันตชาดก
                     ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ผู้นั่งฟังธรรมระลึกถึงอดีตชาติได้แล้วแสดงอาการเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
                     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีช้างประมาณ 8,000 เชือกมีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ อาศัยสระฉันททันต์อยู่ในป่าหิมพานต์ครั้งนั้น พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกช้างของช้างหัวหน้าโขลง มีสีขาวปลอด ปากและเท้าสีแดง เมื่อเติบโตขึ้นมีร่างกายใหญ่โตมากกว่าช้างเชือกอื่น ๆ ที่งามีแสงรัศมี 6 ประการเปล่งประกายออกมา
                     อยู่ต่อมาเมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว พระโพธิสัตว์ได้เป็นหัวหน้าช้างแทน มีชื่อว่า พญาช้างฉัททันต์ มีภรรยา 2 เชือก คือมหาสุภัททาและจุลลสุภัททา วันหนึ่งในฤดูร้อน ป่ารังมีดอกบานสะพรั่ง พญาช้างฉัททันต์ได้พาบริวารไปหากินที่ป่ารัง ใช้กระพองชนต้นรังให้ดอกหล่นลงมา นางช้างจุลลสุภัททายืนอยู่เหนือลมจึงถูกใบรังเก่า ๆ ติดกับกิ่งไม้แห้งมีมดดำมดแดงตกใส่ร่างกาย ส่วนนางช้างมหาสุภัททายืนอยู่ใต้ลมเกสรดอกไม้และใบสด ๆ จึงโปรยปรายใส่ร่างกาย นางช้างจุลลสุภัททาเห็นเช่นนั้นจึงเกิดความน้อยใจว่าสามีโปรดปรานและรักใคร่แต่นางช้างมหาสุภัททา ส่วนตนมีแต่มดดำมดแดงร่วงใส่ จึงผูกความอาฆาตในพญาช้างฉัททันต์
                     ต่อมาอีกวันหนึ่ง พญาช้างฉัททันต์เมื่ออาบน้ำในสระเสร็จแล้ว ขึ้นมายืนบนฝั่งขอบสระ มีนางช้างทั่งสองยืนเคียงข้าง ขณะนั้นมีช้างเชือกหนึ่งได้นำดอกบัวมีกลีบ 7 ชั้นดอกหนึ่งขึ้นมามอบให้พญาช้าง พญาช้างโปรยเกสรลงบนกระพองแล้ว ยื่นดอกบัวให้แก่นางช้างมหาสุภัททา เป็นเหตุให้นางช้างจุลลสุภัททาเห็นแล้วคิดน้อยใจว่า " พญาช้างให้ดอกบัวแก่ภรรยาที่รักและโปรดปรานเท่านั้น ส่วนเราไม่เป็นที่รักที่โปรดปรานจึงไม่ให้ " จึงผูกเวรในพญาช้างอีก
                     อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พญาช้างได้ไปอุปัฏฐากถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นางช้างจุลลสุภัททาถวายผลไม้แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า " สาธุ ถ้าดิฉันตายไปแล้วขอให้ไปเกิดเป็นอัครมเหสีของพระราชาผู้มีอำนาจ สามารถฆ่าพญาช้างนี้ได้ด้วยเทอญ " นับแต่วันนั้นนางก็อดหญ้าอดน้ำ ร่างกายผ่ายผอม ไม่นานก็ล้มป่วยตายไปเกิดเป็นธิดาของพระราชาในแคว้นมัททรัฐ เมื่อเจริญวัยแล้ว ก็ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าเมืองพาราณสี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานมาก ระลึกชาติหนหลังได้ วันหนึ่งจึงทำทีเป็นประชวรไข้หนักบรรทมอยู่ พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า " น้องนางดูนัยน์ตาเจ้าก็แจ่มใส แต่เหตุไรหนอ น้องนางจึงดูโศกเศร้าซูบผมไปละจ๊ะ "
                     มเหสี " เสด็จพี่ หม่อมฉันแพ้ครรภ์ ฝันเห็นสิ่งที่หาได้ยากพระเจ้าคุณ แต่ถ้าไม่ได้สิ่งนั้น ชีวิตของหม่อมฉันคงอยู่ไม่ได้เช่นกัน "
                     พระราชา " น้องนาง มีอะไรในโลกนี้ที่หาได้ยากบอกพี่มาเถิดจะจัดหามาให้ "
                     มเหสี " เสด็จพี่ ถ้าจะกรุณาหม่อมฉัน โปรดรับสั่งให้ประชุมนายพรานป่าทุกสารทิศเข้าประชุมกันที่ท้องพระโรง มีนายพรานป่าประมาณ 60,000 คนมาประชุมกัน พระเทวีเมื่อพระราชาเปิดโอกาส จึงตรัสว่า " ท่านนายพรานทั้งหลาย ฉันฝันเห็นช้างเผือก ที่งามีรัศมี 6 ประการ ฉันต้องการงาคู่นั้น ถ้าไม่ได้ชีวิตฉันก็คงอยู่ไม่ได้ ขอให้พวกท่านนำมาถวายเถิด "
                     พวกนายพรานทูลว่า " ขอเดชะอาญาไม่พ้นเกล้า ตั้งแต่เป็นพรานมาก็ไม่เคยได้ยินปู่ทวดกล่าวถึงพญาช้างเผือก งามีรัศมี 6 ประการเลย ขอพระองค์ได้ตรัสบอกที่อยู่ของพญาช้างด้วยเถิดพะยะค่ะ "
                     พระเทวีได้ตรวจดูพรานป่าทั้งหมด เห็นพรานป่าคนหนึ่งชื่อโสณุตระ มีเท้าใหญ่ เข่าโต หนวดดก เคราแดง ตาเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของพรานผู้โหดร้าย จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าแล้วตรัสบอกทิศทางไปว่า " จากนี้ไปทางทิศเหนือ ข้ามภูเขา 7 ลูก มีภูเขาสูงที่สุดลูกหนึ่งชื่อ สุวรรณปัสสคีรี เจ้าจงขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้นมองดูตามเชิงเขา จะเห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งมีกิ่งก้านสาขาหนาทึบมีพญาช้างเผือกเชือกหนึ่งอาศัยอยู่ มีงาสวยงามมาก มีบริวารอยู่มาก เจ้าจงระวังตัวให้ดี พวกมันระวังรักษาแม่แต่ธุลีก็ไม่ให้แตะต้องพญาช้างได้ "
                     นายพรานเกิดความกลัวตายทูลว่า " ข้าแต่พระเทวี พระแม่เจ้าทรงประสงค์จะฆ่าพญาช้าง เอางามาประดับหรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกนายพรานเสียกระมัง "
                     พระเทวี " นายพราน..เรามีความริษยาและความน้อยใจเมื่อนึกถึงความหลัง ขอเพียงท่านทำตามคำของเรา จะได้บ้านส่วยเก็บภาษี 5 ตำบล ไปเถิดอย่ากลัวเลย" พร้อมกับชี้แจงที่อยู่ของพญาช้างให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น มอบทรัพย์ให้พันหนึ่งแล้วนัดให้มาอีก 7 วัน แล้วรับสั่งช่างเหล็กให้ทำอาวุธ ช่างหนังให้ทำกระสอบหนังใส่สัมภาระ ในวันที่ 7 นายพรานโสณุตระเข้าเฝ้าทูลอำลาเข้าป่าไป
                     นายพรานปีนยอดเขา 7 ลูก จนเข้าไปถึงที่อยู่ของพญาช้างเห็นพญาช้างเผือกงามีรัศมี 6 ประการ ลงอาบน้ำในสระอยู่ เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงขุดหลุมสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เป็นที่แอบดักยิงพญาช้างในเวลาใกล้รุ่ง คลุมร่างกายมิดชิดด้วยผ้าเหลืองแล้วลงไปยืนถือธนูมีลูกอาบยาพิษแอบอยู่ในหลุมนั้น รอการมาของพญาช้าง
                     วันนั้น พญาช้างได้พาบริวารออกหากินตามปกติ เมื่อลงอาบน้ำแล้วก็ขึ้นมายืนบนฝั่งใกล้หลุมนั้น ทันใดนั้นเองก็ร้องขึ้นสุดเสียงเมื่อถูกลูกศรของนายพราน ฝูงช้างได้ยินเสียงร้องของพญาช้างต่างตกใจวิ่งหนีเข้าป่าไป พญาช้างตัวเดียวเหลียวดูที่มาของลูกศรแล้วพลิกกระดานขึ้นเห็นนายพรานเท่านั้น คิดจะจับขึ้นมาฆ่าพอเห็นผ้าเหลืองพันกายนายพรานเท่านั้น ความโกรธก็หายไป ด้วยตระหนักว่า " ผ้าเหลืองคือธงชัยแห่งพระอรหันต์ บัณฑิตไม่ควรทำลาย ควรสักการะเคารพอย่างเดียวโดยแท้ " จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
                     " ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ และสัจจะ ผู้นั้น ไม่ควรจะนุ่งห่มผ้าเหลือง ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้วตั้งมั่นอยู่ในศีลประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ควรนุ่งห่มผ้าเหลือง "
                     แล้วถามนายพรานว่า " เพื่อนเอ๋ย ท่านยิงเราเพื่อต้องการอะไร เพื่อตนเอง หรือคนอื่นใช้ให้มาฆ่าเรา " นายพรานตอบว่า " พญาช้าง พระนางสุภัททามเหสีของพระเจ้ากาสีกราช ได้ทรงสุบินเห็นท่าน จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามาเพื่อประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน "
                     พญาช้างก็ทราบโดยทันทีถึงการผูกเวรของนางจุลลสุภัททา จึงกล่าวว่า " เพื่อนเอ๋ย พระนางสุภัททามิใช่จะต้องการงาทั้งสอง ของเราดอก ประสงค์จะฆ่าเราเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นก็เชิญเถิดนายพราน จงหยิบเลื่อยมาตัดงาเราขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เถิด "
                     นายพรานจึงใช้เลื่อยตัดงาทั้งคู่แล้วรับถือกลับเมืองไป พญาช้างมอบงาให้นายพรานแล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วตั้งจิตเมตตาให้นายพรานเดินทางกลับเมืองด้วยความปลอดภัย แล้วก็ล้มลงขาดใจตาย
                     ฝ่ายนางช้างมหาสุภัททาพร้อมฝูงช้างวิ่งหนีไปได้ระยะทางหนึ่ง เมื่อไม่เห็นศัตรูตามมาก็พากันกลับเห็นพญาช้างสิ้นใจตายแล้ว ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่ตรงนั้น ส่วนนายพรานก็นำงาทั้งคู่เข้าถวายพระนางสุภัททาพระนางรับคู่งาอันวิจิตรมีรัศมี 6 ประการวางไว้ที่พระเพลาทอดพระเนตรดูงาของสามีสุดที่รัก เกิดความเศร้าโศกสลดในอย่างยิ่งทันใดนั้นเองดวงหทัยของพระนางก็ได้แตกสลายสวรรคตในวันนั้นเช่นกัน

 

:: หน้า 1 :: หน้า 2 :: หน้า 3 :: หน้า 4 :: หน้า 5 :: หน้า 6 :: หน้า 7 ::

 

 


   ขอขอบคุณ ข้อมูลโดย :: นิว ด่านช้าง, ช่างนนท์, สมภพ โรจนเสถียร, ชัย ดอนไร่, เม่น หนองทราย, ปัญญา โพธิ์พุ่ม, มี่ กะ อาร์ นะคร๊าฟ ,
                                             ป้อ สุพรรณ และศิษยานุศิษย์ทุกท่าน
ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
   ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนเช่าพื้นที่เว็บไซต์ และจดทะเบียนโดเมนเนม :: Tony Ma  (ปี 62 และปี 63)

 

 

      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " พระเกจิ.com "  ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลประวัติความเป็นมาของพระเกจิยอดนิยม ทั้งในอดีต และปัจจุบันตลอดจนข้อมูลวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูล....