ภาพขยาย....


 

 

    เมนูลัก... พระคู่บ้าน คู่เมืองบุรีรัมย์
  ประวัติความเป็นมา 
  เหรียญเสมารุ่นแรก พระสุภัทรบพิตร
      - วัตถุประสงค์/รูปแบบการจัดสร้าง
      - เกจิคณาจารย์จารชนวน และร่วมพิธีฯ
      - ทำการหลอมชนวนมวลสาร
      - พิธีพุทธา - เทวาภิเษก (29 ก.ค.62)
  กลุ่ม : คนรักเหรียญพระสุภัทรบพิตร
    พระคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  วัตถุมงคลวัดอื่นๆ 
      - วัดแก้วเจริญ  
      - วัดประดู่พระอารามหลวง
      - ท้าวเวสสุวรรณ " ทรัพย์เหลือล้น "
      - เหรียญเสมา " พระสุภัทรบพิตร "
      - เหรียญ " พระนาคปรกเจริญพร "
   



 


ภาพขยาย....

            " พระสุภัทรบพิตร "  เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ก่ออิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์ใหญ่คู่บ้านคู่เมืองของชาวบุรีรัมย์  โดยประดิษฐานบน ยอดเขากระโดง(วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง) บ.น้ำซับ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมีขนาดหน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานกว้าง 14 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด เศียร 24 เมตร บนความสูง 265 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ อันเป็นที่ตั้งของเมืองบุรีรัมย์หรือเมืองเเป๊ะ ซึ่งได้จัดสร้าง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดย “ นายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์ ” ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ในขณะนั้น (พ.ศ. 2511-2526) ร่วมกับพ่อค้า ประชาชน ข้าราชการและผู้มีจิต ศรัทธาเลื่อมใสในแนวความคิดและโครงการต่างๆ ของ “ หลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต ” เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ในขณะนั้นได้ร่วม กันจัดสร้างขึ้น บริเวณยอดเขากระโดง เพื่อให้เป็นที่บูชาสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
               ทำการวางศิลาฤกษ์ในการสร้างเมื่อวันที่ 17  ตุลาคม 2512  สร้างเสร็จสมบูรณ์ เเละพุทธาภิเษกเรียบร้อยเมื่อ ปี พ.ศ.2514
            ภายในพระเศียรขององค์พระมี  “ พระบรมสารีริกธาตุ ” บรรจุอยู่  ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาเองตามคำอธิฐานจิตของนางแจ๋ว  มารดาของ นายเสรี  อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน เมื่อมีการสร้างองค์พระสุภัทรบพิตร ขึ้น นายเสรีฯ จึงได้นำมาบรรจุไว้ในพระเศียรนี้

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

               จังหวัดบุรีรัมย์ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันจัด “ งาน ประเพณีขึ้นภูเขาไฟกระโดง ” ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นหรือประเพณีเดือน 5 ที่ได้จัดสืบทอดต่อกันมายาวนานหลายปีแล้ว (หลังจากในอดีตประชาชนในท้องถิ่นละแวกเขากระโดงได้ขึ้นไปนมัสการพระสุภัทรบพิตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขากระโดงมายาวนานในช่วงเดือน 5 เทศกาล สงกรานต์หรือปีใหม่ไทย) และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจะมีเหล่าข้าราชการแต่งกายเป็นเทวดา นางฟ้าและประชา ชนกว่า 1,000 คน ได้ร่วมขบวนพิธีแห่อัญเชิญ ผ้าอังสะความยาว 39 เมตร เดินขึ้นบันไดนาคราช จำนวน 297 ขั้น เพื่อประกอบพิธีเปลี่ยนผ้าอังสะผืนใหม่ให้แก่ องค์พระสุภัทรบพิตร  ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดภูเขาไฟกระโดง  พร้อมกันนี้พระภิกษุสงฆ์ 99 รูป  ยังได้สวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้  บ้านเมืองสงบสุข นอกจากนี้ยังมีการประกอบพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขาไฟกระโดงพร้อมมีการแสดงวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้าน “ ชุดระบำภูเขาไฟ ” และ “ ชุดบุรีรัมย์รุ่งเรือง ” อย่างสวยงามตระการตาด้วย
               บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดที่พบซากภูเขาไฟมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยว ได้แวะเวียนไปเยี่ยมชม นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำดินภูเขาไฟซึ่งมีแร่ธาตุต่างๆ มาย้อมผ้าฝ้าย - ผ้าไหม จึงนุ่มและมีสีสวยของดินภูเขาไฟ  กลายเป็นสินค้าหายาก หนึ่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย  โดยซากภูเขาไฟที่พบนั้นมีทั้งหมด 6 ลูก อันได้แก่ ภูเขาไฟกระโดง  ภูเขาไฟพนมรุ้ง  ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟหลุบ หรือภูหลุบ ภูเขาไฟ ไปรบัด และภูเขาไฟเขาคอก สำหรับภูเขาไฟกระโดง   ตั้งอยู่ในเขตวนอุทยานภูเขาไฟกระโดงซึ่งมีพื้นที่ราว 1,450 ไร่ ถือเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทมาแล้ว หลายพันปีแล้ว อีกทั้งยังเป็นภูเขาไฟที่มีสภาพปากปล่องสมบูรณ์ดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย เป็น 1 ใน 6 ลูกของภูเขาไฟใน จ.บุรีรัมย์ มีอายุประมาณ 300,000 - 900,000 ปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร ซากปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอด เนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือ เรียกว่า เขาน้อยหรือเขากระโดง  ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือบริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีลักษณะเป็นสระน้ำ ใน ปัจจุบันบริเวณตรงปากปล่องมีลักษณะเป็นหลุมลึก ทางเดินเท้าก่อด้วยหินและมีระเบียงไม้ชมวิว  เราสามารถเดินลงไปเที่ยวชมหลุมที่เกิดจากการปะทุได้อย่าง สะดวกสบาย ไม่ต้องกลัวว่าจะระเบิดขึ้นมาอีกเพราะภูเขาไฟในบุรีรัมย์ทั้งหมดดับสนิทไปนานแล้ว

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

               เดิมชาวบ้านเรียก “ เขากระโดง ” ว่า “ พนมกระดอง ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ ภูเขากระดอง (เต่า) ” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมาจึงเรียก เพี้ยนเป็น “ กระโดง ”
            วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟโบราณซึ่งยังคงปรากฏ ร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน การขึ้นไปยังวนอุทยานภูเขาไฟกระโดงสามารถทำได้ 2 วิธี คือการเดินขึ้นบันไดนาคราชจำนวน 297 ขั้น มีความสูงประมาณ 265 เมตร  ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512  หรือขับรถยนต์ขึ้นไปถึงยอดเขากระโดง  ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆ  ตั้งเรียงรายอยู่เป็นระยะๆ โดยก่อนถึง ยอดเขาจะเห็นสระน้ำมณีวรรณ อยู่ทางด้านขวามือ สระน้ำนี้เชื่อว่าเดิมเป็นปากปล่องภูเขาไฟ บนยอดเขาเป็นลานกว้างโดยเป็นที่ประดิษฐานองค์พระสุภัทรบพิตร และ บริเวณใกล้เคียงกันนั้นยังเป็นที่ประดิษฐานปรางค์กู่โบราณ หรือปราสาทหินเขากระโดง  ซึ่งพระยาประเสริฐ สุนทราศรัย  อดีตเจ้าเมืองบุรีรัมย์ กับคุณหญิง ประเสริฐ สุนทราศรัย มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้สร้างขึ้นไว้ที่ยอดเขากระโดง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2448 เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา  และให้เป็นปูชนียสถาน สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป อีกทั้งยังมีสะพานแขวนลาวาให้สามารถยืนชมทัศนียภาพบริเวณปากปล่องภูเขาไฟจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

               ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ตระกูลสิงหเสนีย์ ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นมาใหม่ มีขนาดความยาว 2 ศอก 1 คืบ ความกว้าง 1 ศอก แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในปรางค์กู่โบราณ ซึ่งเดิมเป็นปราสาทหินทรายก่อบนฐานศิลาแลงสี่เหลี่ยมขนาด 4 x 4 เมตร พร้อมกับได้บูรณะและสร้างมณฑปครอบ ทับไว้เนื่องจากตัวปราสาททรุดโทรมปรักหักพัง ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปรางค์กู่โบราณแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2518 โดยมีขอบเขตเนื้อที่โบราณสถาน 1 งาน 50 ตารางวา

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

               ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นไปกราบไหว้ขอพรองค์พระสุภัทรบพิตร และชมปากปล่องภูเขาไฟเป็นจำนวนมากเกือบ 200,000 คน นักท่อง เที่ยวสามารถชม หินลอยน้ำ หรือ หินฟองน้ำ กระจายอยู่โดยรอบปากปล่องภูเขาไฟ ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วภายในวนอุทยานฯ ยังมีพันธุ์ ไม้พื้นเมือง ยังมีต้นไม้ในตำนานที่หาชมได้ยาก ชื่อว่าต้น “ โยนีปีศาจ ” ที่ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือภาษา พื้นถิ่นชาวเขมรเรียกว่าต้น “ กะ-นุย-ขะ-มอย ” ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและศึกษาประวัติความเป็นมา โดยต้นโยนีปีศาจนั้นเป็นไม้ประเภทยืนต้น ลักษณะไม้ เปลือกแข็ง ลำต้นสูงใหญ่ จะเริ่มออกดอกในระยะต้นของเดือนพฤษภาคม ลักษณะของผลคล้ายๆ ลูกมะกอก ขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร เมื่อลูกสุกประมาณ เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จะหล่นลงมาและแตกออกเป็นสองซีก เมื่อนำไปกดกับดินทรายดูจะปรากฏรอยคล้ายอวัยวะเพศหญิง  มีเฉพาะในประเทศไทย เป็นพันธุ์ ไม้พื้นเมืองหายากที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟเก่าเท่านั้น

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

               ตามตำนานเรื่องเล่า ต้นโยนีปีศาจดังกล่าว เป็นต้นไม้ตำนานรักระหว่าง ท้าวปาจิต โอรสแห่งนครธม กับ นางอรพิม หญิงสาวสามัญชน ที่ทั้งสอง มีความรักต่อกัน แต่กลับมีเหตุให้ต้องพลัดพรากจากกัน ทั้งต้องผจญภัยฟันฝ่าอุปสรรค ซึ่งเป็นเรื่องราวปาฏิหาริย์เป็นเวลากว่า 7  ปี   แต่ระหว่างที่ต้องผจญภัย ในป่า นางอรพิม เกรงว่าจะเกิดอันตราย จึงอธิษฐานจิตขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แปลงร่างให้เธอเป็นชาย โดยขอให้บางส่วนที่เป็นหญิงหลุดหายไปจากร่าง จากนั้น อรพิมก็ได้นำโยนีหรืออวัยวะเพศหญิงไปฝากไว้ที่ต้นมะกอกโคก หรือต้นโยนีปีศาจดังกล่าว เมื่อรอดชีวิตออกจากป่าได้ในที่สุดอรพิมก็ได้กลับมาเป็นหญิง และ ครองรักกับท้าวปาจิตเหมือนเดิม

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

               สำหรับบริเวณใกล้เคียงกับวนอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมาก คือ สนามฟุตบอล นิวไอโมบาย สเตเดี้ยม ของทีมสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ( Buriram United, Buriram UTD)

 

 

พิธียกฉัตร พระสุภัทรบพิตร

 

 

 


   ขอขอบคุณ ที่มาข้อมูลโดย :: www.paiduaykan.com , www.tripadvisor.ch , www.ldm.in.th , www.dhammajak.net ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
   ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนเช่าพื้นที่เว็บไซต์ และจดทะเบียนโดเมนเนม :: Tony Ma  (ปี 62 และปี 63)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " พระเกจิ.com "  ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลประวัติความเป็นมาของพระเกจิยอดนิยม ทั้งในอดีต และปัจจุบันตลอดจนข้อมูลวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูล....