หน้าแรก... ตำนานวัดประดู่ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประวัติ พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) ไหว้พระ/ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด แผนที่ในการเดินทางไปวัด

ประวัติ พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข)

   ตำนานวัดประดู่ พระอารามหลวง
   หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
   หลวงปู่แจ้ง  ปุณยจนฺโท
   ประวัติเจ้าอาวาส (พระมหาสุรศักดิ์ฯ)  
   สำนักเขาพระพุทธบาท (ราชบุรี)
   ธรรมะจากหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์
   หัตถประติมากรรม " หุ่นดินสอพอง "
   พญาฉัททันต์ โพธิสัตว์
   CD เพลงชุด รวยแน่นๆ
   เว็บไซต์ www.watpradoo.com
   ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook

   พระราชประวัติเสด็จประพาสต้น
   พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราชฯ
   ศาลาเก๋งเรือ รัชกาลที่ 5
   พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5
   ภาพวาดจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 2
   ศูนย์สาธิตศิลปะการทำหัวโขน/เศียรครู
   ไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

   ตะกรุดต่างๆ ของวัดประดู่ฯ
      มหาระงับปราบหงสา
      พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ
      มงกุฏพรหม         พิสมรใบลาน
      มหาปราบ            โภคทรัพย
      โสฬสมงคล         ตะกรุด 8 ดอก
      ลูกอม(โลกธาตุ)   จันทร์เพ็ญ
      ตาลยอดเหี้ยน       สาริกา    
      วัวกินนมเสือ  หนูกินนมแมว
      ดาวล้อมเดือน       ตะกรุดอื่นๆ
   พระกริ่งหลวงพ่อใหญ่ วัดประดู่ฯ
   พระกริ่ง รุ่น ธรรมราชา
   พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ โสฬสมงคล
   พระกริ่งโภคทรัพย์ / พระกริ่งโลกธาตุ
   เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ (หลวงพ่อใหญ่)

   พระพรหม-พระวิษณุกรรม-พระพิราพ

   พระพิฆเนศ พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสังกัจจายน์ พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสิวลี รุ่น รวยแน่นๆ และรุ่นอื่นๆ
   เหรียญบรมครูพ่อแก่
   เหรียญที่ระลึกสำนักเขาพระพุทธบาท
   วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด วัดประดู่ฯ
   เหรียญหลวงปู่แจ้ง และเหรียญอื่นๆ
   รูปเหมือนพระบูชาหลวงปู่แจ้งฯ
   เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก
   เหรียญรูปเหมือน รุ่น สันติสุข
   เหรียญรูปเหมือนหันข้าง รุ่น เศรษฐี
   รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   รูปหล่อพระบูชารูปเหมือน 12 นิ้ว
   พระสมเด็จหล่อโภคทรัพย์ / ซุ้มประตู
   พระผงขุนแผน พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสมเด็จ / พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ
   ล็อกเก็ต / รูปภาพ / ผ้ายันต์
   เบี้ยแก้ / พ่อขุนทะเล พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   เข็มขัดตะขาบไฟฯ / เครื่องรางอื่นๆ
   วัตถุมงคลเพิ่มเติมอื่นๆ 

   VCD ตำนานวัดประดู่ฯ 
   บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
   ศาลาเก่าภาพวาดจิตรกรรมวัดประดู่ฯ
   หอศิลป์ วัดประดู่ฯ
   มัคคุเทศก์น้อย วัดประดู่ฯ
 

            

 

                    พญาช้างฉัททันต์  โพธิสัตว์
                    รูปปั้นช้างที่อยู่ข้างอุโบสถมีโยมคนหนึ่งนำมาถวาย เรื่องช้างนี่ก็เป็นเรื่องแปลก คืออาตมาตอนสมัยเป็นเณรเคยไปช่วยเขาสร้างวัดที่เชียงใหม่ เป็นไทยใหญ่อพยพมา วิหารก็เป็นไม้ขัดแตะ มุงแฝก อาตมาก็ไปช่วยทำใหม่ ทำกุฏิให้อะไรให้ ทีนี้ก็มีหมอดูดวงพยากรณ์ เรียกว่าตำราไทยใหญ่ เขาบอกว่าอาตมาขี่ช้างมาเกิด มีหม้อมาใบหนึ่ง ก็ฟังไว้เท่านั้น ไม่ได้คิดอะไรมากมาย พอไปทอดผ้าป่าที่พิษณุโลก ไปเจออาจารย์อยู่องค์หนึ่งกับหลวงปู่อ่อน วัดเนินมะเกลือ จังหวัดพิษณุโลก พอไปถึงก็มีพระบอกว่าอาจารย์รูปนี้แกพยากรณ์ว่าวันนี้จะมีพระน้องชายในอดีตชาติมาหา ซึ่งวันนี้มีอาตมาไปองค์เดียว แกก็เลยพาไปหาอาจารย์ ไปถึงก็ไปไหว้ท่าน ท่านบอกว่าเราเป็นพี่น้องกันนะ 3 องค์ มีหลวงปู่อ่อน แก แล้วก็อาตมา เราเคยเกิดเป็นช้างข้ามน้ำกันมา ไม่เชื่อท่านมหาลองหงายฝ่าเท้าดูสิ ฝ่าเท้าของผมกับของท่านจะเหมือนกัน ก็เลยหงายฝ่าเท้าขึ้นมาดู เหมือนกันเปี๊ยบเลยอย่างกับฝ่าเท้าเดียวกัน มันก็แปลกดีเหมือนกัน แต่ฝ่าเท้าคนอื่นก็ไม่เหมือนนะ แล้วอยู่ๆ โยมก็เอารูปปั้นช้างตัวใหญ่มาถวาย อาตมาก็เลยตั้งถวายนามว่า  “ พญาฉัททันต์ ”

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

                      ขอพรลอดท้องพญาฉัททันต์ โพธิสัตว์
                     
    ครั้งที่ 1 ขจัดสิ่งอัปมงคล
                         
ครั้งที่ 2 ให้พ้นอันตราย
                         
ครั้งที่
3 ให้ได้โภคทรัพย์
                         
ครั้งที่
4 สุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
                         
ครั้งที่
5 สมบูรณ์พูนผลตามที่ตนต้องการ
                     พระคาถาบูชาพญาฉัททันต์ โพธิสัตว์
                         
ตั้งนะโม 3 จบ
                         
ฉัททันตะโพธิสัตตัสสะ  นะมามิ
                         
สัพพะภะยะโรคะทุกเขหิ  มุจจามิ

                         
สะทา  โสตถิ ภะวันตุ  เม

                    ตำนานพญาช้างฉัททันต์  ในหนังสือฉัททันตชาดก
                    ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ผู้นั่งฟังธรรมระลึกถึงอดีตชาติได้แล้วแสดงอาการเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
                     
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีช้างประมาณ 8,000 เชือกมีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ อาศัยสระฉันททันต์อยู่ในป่าหิมพานต์ครั้งนั้น พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกช้างของช้างหัวหน้าโขลง มีสีขาวปลอด ปากและเท้าสีแดง เมื่อเติบโตขึ้นมีร่างกายใหญ่โตมากกว่าช้างเชือกอื่น ๆ ที่งามีแสงรัศมี 6 ประการเปล่งประกายออกมา
                     
อยู่ต่อมาเมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว พระโพธิสัตว์ได้เป็นหัวหน้าช้างแทน มีชื่อว่า พญาช้างฉัททันต์ มีภรรยา 2 เชือก คือมหาสุภัททาและจุลลสุภัททา วันหนึ่งในฤดูร้อน ป่ารังมีดอกบานสะพรั่ง พญาช้างฉัททันต์ได้พาบริวารไปหากินที่ป่ารัง ใช้กระพองชนต้นรังให้ดอกหล่นลงมา นางช้างจุลลสุภัททายืนอยู่เหนือลมจึงถูกใบรังเก่า ๆ ติดกับกิ่งไม้แห้งมีมดดำมดแดงตกใส่ร่างกาย ส่วนนางช้างมหาสุภัททายืนอยู่ใต้ลมเกสรดอกไม้และใบสด ๆ จึงโปรยปรายใส่ร่างกาย นางช้างจุลลสุภัททาเห็นเช่นนั้นจึงเกิดความน้อยใจว่าสามีโปรดปรานและรักใคร่แต่นางช้างมหาสุภัททา ส่วนตนมีแต่มดดำมดแดงร่วงใส่ จึงผูกความอาฆาตในพญาช้างฉัททันต์
                     
ต่อมาอีกวันหนึ่ง พญาช้างฉัททันต์เมื่ออาบน้ำในสระเสร็จแล้ว ขึ้นมายืนบนฝั่งขอบสระ มีนางช้างทั่งสองยืนเคียงข้าง ขณะนั้นมีช้างเชือกหนึ่งได้นำดอกบัวมีกลีบ 7 ชั้นดอกหนึ่งขึ้นมามอบให้พญาช้าง พญาช้างโปรยเกสรลงบนกระพองแล้ว ยื่นดอกบัวให้แก่นางช้างมหาสุภัททา เป็นเหตุให้นางช้างจุลลสุภัททาเห็นแล้วคิดน้อยใจว่า " พญาช้างให้ดอกบัวแก่ภรรยาที่รักและโปรดปรานเท่านั้น ส่วนเราไม่เป็นที่รักที่โปรดปรานจึงไม่ให้ " จึงผูกเวรในพญาช้างอีก
                     
อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พญาช้างได้ไปอุปัฏฐากถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นางช้างจุลลสุภัททาถวายผลไม้แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า " สาธุ ถ้าดิฉันตายไปแล้วขอให้ไปเกิดเป็นอัครมเหสีของพระราชาผู้มีอำนาจ สามารถฆ่าพญาช้างนี้ได้ด้วยเทอญ " นับแต่วันนั้นนางก็อดหญ้าอดน้ำ ร่างกายผ่ายผอม ไม่นานก็ล้มป่วยตายไปเกิดเป็นธิดาของพระราชาในแคว้นมัททรัฐ เมื่อเจริญวัยแล้ว ก็ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าเมืองพาราณสี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานมาก ระลึกชาติหนหลังได้ วันหนึ่งจึงทำทีเป็นประชวรไข้หนักบรรทมอยู่ พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า " น้องนางดูนัยน์ตาเจ้าก็แจ่มใส แต่เหตุไรหนอ น้องนางจึงดูโศกเศร้าซูบผมไปละจ๊ะ "
           มเหสี " เสด็จพี่ หม่อมฉันแพ้ครรภ์ ฝันเห็นสิ่งที่หาได้ยากพระเจ้าคุณ แต่ถ้าไม่ได้สิ่งนั้น ชีวิตของหม่อมฉันคงอยู่ไม่ได้เช่นกัน "
           พระราชา " น้องนาง มีอะไรในโลกนี้ที่หาได้ยากบอกพี่มาเถิดจะจัดหามาให้ "
           มเหสี " เสด็จพี่ ถ้าจะกรุณาหม่อมฉัน โปรดรับสั่งให้ประชุมนายพรานป่าทุกสารทิศเข้าประชุมกันที่ท้องพระโรง มีนายพรานป่าประมาณ 60,000 คนมาประชุมกัน พระเทวีเมื่อพระราชาเปิดโอกาส จึงตรัสว่า " ท่านนายพรานทั้งหลาย ฉันฝันเห็นช้างเผือก ที่งามีรัศมี 6 ประการ ฉันต้องการงาคู่นั้น ถ้าไม่ได้ชีวิตฉันก็คงอยู่ไม่ได้ ขอให้พวกท่านนำมาถวายเถิด "
           พวกนายพรานทูลว่า " ขอเดชะอาญาไม่พ้นเกล้า ตั้งแต่เป็นพรานมาก็ไม่เคยได้ยินปู่ทวดกล่าวถึงพญาช้างเผือก งามีรัศมี 6 ประการเลย ขอพระองค์ได้ตรัสบอกที่อยู่ของพญาช้างด้วยเถิดพะยะค่ะ "
           พระเทวีได้ตรวจดูพรานป่าทั้งหมด เห็นพรานป่าคนหนึ่งชื่อโสณุตระ มีเท้าใหญ่ เข่าโต หนวดดก เคราแดง ตาเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของพรานผู้โหดร้าย จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าแล้วตรัสบอกทิศทางไปว่า "จากนี้ไปทางทิศเหนือ ข้ามภูเขา 7 ลูก มีภูเขาสูงที่สุดลูกหนึ่งชื่อ สุวรรณปัสสคีรี เจ้าจงขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้นมองดูตามเชิงเขา จะเห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งมีกิ่งก้านสาขาหนาทึบมีพญาช้างเผือกเชือกหนึ่งอาศัยอยู่ มีงาสวยงามมาก มีบริวารอยู่มาก เจ้าจงระวังตัวให้ดี พวกมันระวังรักษาแม่แต่ธุลีก็ไม่ให้แตะต้องพญาช้างได้"
           นายพรานเกิดความกลัวตายทูลว่า "ข้าแต่พระเทวี พระแม่เจ้าทรงประสงค์จะฆ่าพญาช้าง เอางามาประดับหรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกนายพรานเสียกระมัง"
           พระเทวี " นายพราน..เรามีความริษยาและความน้อยใจเมื่อนึกถึงความหลัง ขอเพียงท่านทำตามคำของเรา จะได้บ้านส่วยเก็บภาษี 5 ตำบล ไปเถิดอย่ากลัวเลย" พร้อมกับชี้แจงที่อยู่ของพญาช้างให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น มอบทรัพย์ให้พันหนึ่งแล้วนัดให้มาอีก 7 วัน แล้วรับสั่งช่างเหล็กให้ทำอาวุธ ช่างหนังให้ทำกระสอบหนังใส่สัมภาระ ในวันที่ 7 นายพรานโสณุตระเข้าเฝ้าทูลอำลาเข้าป่าไป
                     
นายพรานปีนยอดเขา 7 ลูก จนเข้าไปถึงที่อยู่ของพญาช้างเห็นพญาช้างเผือกงามีรัศมี 6 ประการ ลงอาบน้ำในสระอยู่ เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงขุดหลุมสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เป็นที่แอบดักยิงพญาช้างในเวลาใกล้รุ่ง คลุมร่างกายมิดชิดด้วยผ้าเหลืองแล้วลงไปยืนถือธนูมีลูกอาบยาพิษแอบอยู่ในหลุมนั้น รอการมาของพญาช้าง
                     
วันนั้น พญาช้างได้พาบริวารออกหากินตามปกติ เมื่อลงอาบน้ำแล้วก็ขึ้นมายืนบนฝั่งใกล้หลุมนั้น ทันใดนั้นเองก็ร้องขึ้นสุดเสียงเมื่อถูกลูกศรของนายพราน ฝูงช้างได้ยินเสียงร้องของพญาช้างต่างตกใจวิ่งหนีเข้าป่าไป พญาช้างตัวเดียวเหลียวดูที่มาของลูกศรแล้วพลิกกระดานขึ้นเห็นนายพรานเท่านั้น คิดจะจับขึ้นมาฆ่าพอเห็นผ้าเหลืองพันกายนายพรานเท่านั้น ความโกรธก็หายไป ด้วยตระหนักว่า " ผ้าเหลืองคือธงชัยแห่งพระอรหันต์ บัณฑิตไม่ควรทำลาย ควรสักการะเคารพอย่างเดียวโดยแท้ " จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
                     
" ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ และสัจจะ ผู้นั้น ไม่ควรจะนุ่งห่มผ้าเหลือง ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้วตั้งมั่นอยู่ในศีลประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ควรนุ่งห่มผ้าเหลือง "
                     
แล้วถามนายพรานว่า " เพื่อนเอ๋ย ท่านยิงเราเพื่อต้องการอะไร เพื่อตนเอง หรือคนอื่นใช้ให้มาฆ่าเรา " นายพรานตอบว่า " พญาช้าง พระนางสุภัททามเหสีของพระเจ้ากาสีกราช ได้ทรงสุบินเห็นท่าน จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามาเพื่อประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน "
                     
พญาช้างก็ทราบโดยทันทีถึงการผูกเวรของนางจุลลสุภัททา จึงกล่าวว่า " เพื่อนเอ๋ย พระนางสุภัททามิใช่จะต้องการงาทั้งสอง ของเราดอก ประสงค์จะฆ่าเราเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นก็เชิญเถิดนายพราน จงหยิบเลื่อยมาตัดงาเราขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เถิด "
                     
นายพรานจึงใช้เลื่อยตัดงาทั้งคู่แล้วรับถือกลับเมืองไป พญาช้างมอบงาให้นายพรานแล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วตั้งจิตเมตตาให้นายพรานเดินทางกลับเมืองด้วยความปลอดภัย แล้วก็ล้มลงขาดใจตาย
                     
ฝ่ายนางช้างมหาสุภัททาพร้อมฝูงช้างวิ่งหนีไปได้ระยะทางหนึ่ง เมื่อไม่เห็นศัตรูตามมาก็พากันกลับเห็นพญาช้างสิ้นใจตายแล้ว ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่ตรงนั้น ส่วนนายพรานก็นำงาทั้งคู่เข้าถวายพระนางสุภัททาพระนางรับคู่งาอันวิจิตรมีรัศมี 6 ประการวางไว้ที่พระเพลาทอดพระเนตรดูงาของสามีสุดที่รัก เกิดความเศร้าโศกสลดในอย่างยิ่งทันใดนั้นเองดวงหทัยของพระนางก็ได้แตกสลายสวรรคตในวันนั้นเช่นกัน

 

 

 

:: ขอขอบคุณ คณะศิษย์วัดประดู่ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล :: Web Design Factory