หน้าแรก... ตำนานวัดประดู่ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประวัติ พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) ไหว้พระ/ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด แผนที่ในการเดินทางไปวัด

ประวัติ พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข)

   ตำนานวัดประดู่ พระอารามหลวง
   หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
   หลวงปู่แจ้ง  ปุณยจนฺโท
   ประวัติเจ้าอาวาส (พระมหาสุรศักดิ์ฯ)  
   สำนักเขาพระพุทธบาท (ราชบุรี)
   ธรรมะจากหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์
   หัตถประติมากรรม " หุ่นดินสอพอง "
   พญาฉัททันต์ โพธิสัตว์
   CD เพลงชุด รวยแน่นๆ
   เว็บไซต์ www.watpradoo.com
   ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook

   พระราชประวัติเสด็จประพาสต้น
   พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราชฯ
   ศาลาเก๋งเรือ รัชกาลที่ 5
   พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5
   ภาพวาดจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 2
   ศูนย์สาธิตศิลปะการทำหัวโขน/เศียรครู
   ไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

   ตะกรุดต่างๆ ของวัดประดู่ฯ
      มหาระงับปราบหงสา
      พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ
      มงกุฏพรหม         พิสมรใบลาน
      มหาปราบ            โภคทรัพย
      โสฬสมงคล         ตะกรุด 8 ดอก
      ลูกอม(โลกธาตุ)   จันทร์เพ็ญ
      ตาลยอดเหี้ยน       สาริกา    
      วัวกินนมเสือ  หนูกินนมแมว
      ดาวล้อมเดือน       ตะกรุดอื่นๆ
   พระกริ่งหลวงพ่อใหญ่ วัดประดู่ฯ
   พระกริ่ง รุ่น ธรรมราชา
   พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ โสฬสมงคล
   พระกริ่งโภคทรัพย์ / พระกริ่งโลกธาตุ
   เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ (หลวงพ่อใหญ่)

   พระพรหม-พระวิษณุกรรม-พระพิราพ

   พระพิฆเนศ พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสังกัจจายน์ พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสิวลี รุ่น รวยแน่นๆ และรุ่นอื่นๆ
   เหรียญบรมครูพ่อแก่
   เหรียญที่ระลึกสำนักเขาพระพุทธบาท
   วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด วัดประดู่ฯ
   เหรียญหลวงปู่แจ้ง และเหรียญอื่นๆ
   รูปเหมือนพระบูชาหลวงปู่แจ้งฯ
   เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก
   เหรียญรูปเหมือน รุ่น สันติสุข
   เหรียญรูปเหมือนหันข้าง รุ่น เศรษฐี
   รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   รูปหล่อพระบูชารูปเหมือน 12 นิ้ว
   พระสมเด็จหล่อโภคทรัพย์ / ซุ้มประตู
   พระผงขุนแผน พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสมเด็จ / พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ
   ล็อกเก็ต / รูปภาพ / ผ้ายันต์
   เบี้ยแก้ / พ่อขุนทะเล พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   เข็มขัดตะขาบไฟฯ / เครื่องรางอื่นๆ
   วัตถุมงคลเพิ่มเติมอื่นๆ 

   VCD ตำนานวัดประดู่ฯ 
   บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
   ศาลาเก่าภาพวาดจิตรกรรมวัดประดู่ฯ
   หอศิลป์ วัดประดู่ฯ
   มัคคุเทศก์น้อย วัดประดู่ฯ
 

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

                    สำนักเขาพระพุทธบาท (ราชบุรี) บ้านพุกระถิน ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เป็นสำนักสงฆ์อยู่ในความดูแลของ พระครูพิศาลจริยาภิรม หรือพระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่(พระอารามหลวง) ที่ท่านเมตตาอนุเคราะห์เป็นประธาน และหัวแรงใหญ่ในการจัดสร้าง เพื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ในละแวกนั้น รวมถึงเพื่อยกระดับให้กลายเป็นวัดของชุมชนต่อไปในภายภาคหน้า

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

ภาพขยาย....     ภาพขยาย....     ภาพขยาย....

                      พิธีบวชชีพราหมณ์ " วันวิสาขบูชา "   ณ สำนักปฏิบัติธรรมเขาพระพุทธบาทบ้านพุกระถิน   ต.ยางหัก  อ.ปากท่อ  จ.ราชบุรี ในระหว่างวันที่ 21 - 27 พฤษภาคม 2556  ซึ่งในปีนี้มีญาติโยมเข้าร่วมบวชชีพราหมณ์เป็นจำนวน 151 คน

 

:: บทความจากไทยโพสต์ โดย :: ประวิทย์ จำปาทอง  http://www.thaipost.net/tabloid/270113/68656

                    จากสี่แยกปากท่อ ขับรถเลี้ยวไปตามเส้นทางโป่งกระทิง จะเห็นป้ายชี้บอกทางไป " สำนักเขาพระพุทธบาท " เป็นระยะๆ ไป พอถึงหมู่บ้านห้วยศาลา เลี้ยวขวาตรงไปเรื่อยๆ จะพบเส้นทางทุ่งหลวง-หินสี รถเราเลี้ยวซ้ายไปจนถึงหมู่บ้านลานคา ก่อนจะถึงโรงเรียนประถมศึกษาเลี้ยวขวา ขับรถลงทางลูกรังตามลูกศรไปประมาณ 5 กม.เศษๆ จะถึงสำนักเขาพระพุทธบาท !
                     
ก่อนจะขึ้นไปบนภูเขา ด้านขวามือนั้นมีบ้านหนึ่งหลัง เป็นร้านค้าขาย คุณลุงทนง พวงอินทร์ อายุ 67 ปี และคุณป้าอรวรรณ อายุ 55 ปี อยู่กับหลานๆ 2-3 คน ส่วนลูกๆ ต่างก็มีครอบครัว แยกกันทำมาหากินอยู่ทั่วๆ ไป ในพื้นที่ป่าเขาในหุบนั้นรู้สึกจะไม่มีครอบครัวคนอื่นปะปนอยู่กันเลย
                     
ลุงทนงและป้าอรวรรณ สามีภรรยาคู่นี้แหละ มีความสำคัญต่อรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ ! เพราะเป็นลูกเขาที่อยู่ในเขตพื้นที่ของท่าน แสดงว่าท่านทั้งคู่เป็นผู้พบเห็นพระบาทก่อนใคร !
                     
พระสมุห์นุกูล อนาวิโล 19 พรรษา อายุ 42 ปี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เล่าให้ผมฟังว่า
                     
" โยมทนงกับโยมอรวรรณมาหาท่านหลวงพ่อ บอกว่าเห็นรอยพระพุทธบาท หลวงพ่อจะเข้าไปดำเนินการไหม? "
                     
" ตอนนั้นเป็นปี พ.ศ.2549 ทางวัดประดู่ยังก่อสร้างพัฒนาอยู่ จึงยังไม่รับปาก "
                     
พอมาวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 โยมสองท่านนี้ได้เข้ามาถามหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง ถ้าหลวงพ่อไม่เอา จะมีพระที่อื่นเข้ามาดำเนินการ !
                     
" หลวงพ่อเลยตัดสินใจเข้าไปดำเนินการ " ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเล่า
                     
ทางศิลปากรได้เข้ามาแล้วและรับรองว่า เป็นรอยประทับพระบาทของพระพุทธองค์ !
                     
" มีรอยพระพุทธบาททั้งหมด 8 รอย "
                     
ผมนั่งคุยกับลุงทนง และป้าอรวรรณ ที่โต๊ะร้านค้าหน้าบ้านท่าน
                     
" ฉันได้ถวายที่ดินทั้งหมดให้วัด ภูเขา 5 ลูกประมาณ 350 ไร่ และยังเหลืออีก 200 กว่าไร่ " ลุงทนงเล่า
                     
" ถวายเป็นพุทธบูชา "
                     
ลุงทนง และป้ามาอยู่ตรงลานคา บริเวณป่าหุบเขานี้รวมแล้ว 38 ปีได้ คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 หากินอยู่ที่นี่ ถ้าจะพูดไปแล้วลุงและป้าคือเจ้าพ่อเจ้าแม่ใหญ่อยู่ในป่าหุบเขาบ้านลานคาแห่งนี้ ซึ่งไม่มีครอบครัวไหนเข้ามาอยู่ ทำมาหากินบนผืนดินทั้งหมดเลย
                     
ตรงนี้ไม่มีโฉนด ไม่มีใบสำคัญอะไรเป็นหลักฐาน เพราะเป็นป่าแท้ๆ ทั้งสิ้น หากจะมีการซื้อขายกันก็เชื่อใจกันเท่านั้น และตกลงกันเอง คิดอีกทีแล้วใครจะมาอยู่ในป่านี้ เพราะไม่มีบ้านผู้คน
                     
ลุงทนงเล่าให้ผมฟังว่า เขามีลูกบุญธรรมหลายคน! สาเหตุใหญ่ก็คือพวกคนประเภทฆ่าเขาตายหรือมีคดีสำคัญๆ จะหนีมาอยู่บ้านเขา เขาก็เลี้ยงดูและสอนให้เป็นคนดีขึ้นมา เมื่อเติบใหญ่คนเหล่านี้ประพฤติตนดี มีการงานสำคัญๆ ก็หันเข้ามาอุปการะท่านเหมือนพ่อ!
                     
ผมไปมาหาสู่บ้านลุงป้าคู่นี้ 2-3 ครั้ง เห็นนิสัยแล้ว ท่านเป็นคนดีมีศีลธรรมทั้งคู่ พูดจาตรงไปตรงมาและซื่อสัตย์ และมองเห็นแววนักเลงและความเด็ดขาดอยู่ในทีทั้งสองท่าน! เป็นบุคคลน่าเคารพทั้งคู่
                     
" ทางกรมป่าไม้ได้ยิงพิกัด 120 ไร่ ที่เราครอบครองทั้งหมดประมาณ 1,000 กว่าไร่ " ท่านสมุห์นุกูลเล่า
                     
" ทางสำนักฯ จะทำงานร่วมกับกรมป่าไม้ เพื่อดูแลรักษาป่าไม้ไว้และรักษาสัตว์ป่าด้วย "
                     
ผมขับรถขึ้นไปบนเขา เห็นศาลาปฏิบัติธรรม ศาลาโรงครัว รูปหล่อพระสีวลีองค์ใหญ่ประทับยืนบนเงื้อมเขา ที่พักสงฆ์ และกำลังสร้างบันไดพญานาคใหญ่ ลานพื้นที่ก็ปรับให้กว้างออกมาโดยถมจากเหว รถยนต์ขับขึ้นไปจอดบนด้านหน้าที่พักสงฆ์ เห็นพระและเณร 4-5 รูปที่นั่นกำลังทำงานกันอยู่
                     
ผมเดินไต่ขึ้นไปบนภูเขาซึ่งไม่สูงนัก สร้างขั้นบันไดปูนบางจุดเพื่อให้เดินสะดวกขึ้น ตามองขึ้นไปจะเห็นองค์พระพุทธรูปตั้งตระหง่าน ต่ำลงมานิดเป็นรูปหล่อสมเด็จโตฯ ให้เรากราบไหว้ เบื้องหน้าเป็นรอยพระพุทธบาทอยู่ห่างกันเป็นจุดๆ ในบริเวณนั้น โดยก่อเป็นอิฐศิลาแลงขึ้นมา เพื่อเป็นแนวรอบรอยพระพุทธบาทเอาไว้
                     
รอยพระพุทธบาทใหญ่ที่สุดจะมีความยาวของพระบาท 230 ซม. กว้าง 90 ซม. และลึก 40 ซม.
                     
รอยพระพุทธบาทรองลงมายาว 111 ซม. และกว้าง 22 ซม. ใกล้ๆ กันมีรูปธรรมจักรใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 26 นิ้ว
                     
นอกนั้นอีก 7 รอยก็เล็กลงตามลำดับ ผมก้มลงกราบด้วยความเคารพ พร้อมด้วยพวงดอกไม้เป็นเครื่องบูชา
                     
ทำให้คิดไปว่า ผู้คนสมัยเมื่อ 2,000 กว่าปีนั้น มีความศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ไม่น้อย รอยพระพุทธบาทแห่งนี้จึงเกิดขึ้น ได้มากราบไหว้โดยถ้วนหน้ากัน
                     
ในช่วง 200 ปีหลังจากการปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพ แทนองค์พระพุทธเจ้า มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเพราะช่วงเวลานั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนยังไม่นิยมรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบพิธีกรรมใดๆ ประการหนึ่ง แต่มุ่งเน้นการศึกษาพระธรรมโดยสันโดษ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องสร้างรูปเคารพขึ้น
                     
แต่มีผู้สันนิษฐานไปอีกแง่มุมหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เคารพบูชาอันสูงสุดที่หาเทียบพระองค์มิได้ บุคคลใดมิอาจบังอาจบังควรจะก้าวล่วงในพระองค์ท่าน ถ้าจะเคารพกันก็ควรจะสร้างเป็นเพียงสิ่งสัญลักษณ์ขึ้นเท่านั้น
                     
เมื่อเป็นเช่นนี้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าจึงเกิดขึ้นมาเป็นภาพดอกบัว สถูป เสา รอยเท้า จักร เพื่อเป็นสื่อแทนพระองค์
                     
ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 ช่างอินเดียในแคว้นคันธาระ จึงได้เริ่มสร้างรูปพระพุทธเจ้าในรูปร่างมนุษย์หรือพระพุทธรูปขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรีก-โรมัน ซึ่งนิยมสร้างรูปมนุษย์มาก่อน ดังนั้นศิลปกรรมอินเดียในยุคต้นๆ นั้นจึงดูคล้ายประติมากรรมกรีก-โรมันไป
                     
รอยพระบาทจึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ เพื่อเคารพบูชา ก่อนที่จะมาสร้างเป็นพระพุทธรูป! รอยพระพุทธบาทก็คือองค์แทนพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง!
                     
ตามความเชื่อแต่โบราณ แบ่งรอยพระพุทธบาทเป็น 3 ประเภท
                     
1.รอยพระบาทจริงที่พระพุทธองค์เสด็จประทับไว้เอง
                     
2.รอยพระพุทธบาทที่จำลองขึ้นมาจากรอยพระพุทธบาทจริง
                     
3.รอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์
                     
โบราณเชื่อว่าพระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้จริงๆ ซึ่งตามตำนานปุณโณวาทสูตรก็กล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จเหยียบรอยพระบาทไว้ในที่ 5 แห่ง คือ เขาสุวรรณมาลิก เขาสุวรรณบรรพต เขาสุมนกูฏ เมืองโยนกบุรี และที่หาดทรายผืนน้ำนัมมทา
                     
เขาสุวรรณบรรพตนั้นว่าอยู่ในเมืองไทย คือ พระพุทธบาทสระบุรี ส่วนเขาสุมนกูฏนั้นเป็นดอยแห่งหนึ่งอยู่ในเกาะลังกา เรียกว่าเขาอาดัม
                     
ในความเป็นจริง รอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ประทับไว้อาจมีมากกว่านี้ก็เป็นได้ เพียงแต่ว่าการค้นคว้ายังไม่สามารถเห็นอีกนั่นเอง!
                     
ท่านพระครูพิศาลจิรยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) ปธ.5 เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เล่าให้ผมฟังว่า เวลาประมาณ 2 ทุ่ม ดวงไฟคล้ายโคมลอยลงมาสีนวลขาว ตรงที่พระพุทธบาทนานเป็นชั่วโมง เห็นกันหมดที่อยู่บนเขานั้น พระเณรก็เห็น พระอาจารย์เล็กวัดสาธุชนาราม วิทยากรพิเศษมาบรรยายธรรมแก่ผู้บวชชีพราหมณ์คืนวันวิสาขบูชา เห็นรูปไฟลอยเหนือรอยพระพุทธบาท ทิดหงี จ.สมุทรสาคร พาเพื่อนไปนอนค้างก็เห็นกันหมด เป็นลูกไฟเหนือพระพุทธบาท กลับไปบ้านบอกญาติโยม เขามาทำบุญคนละแสนๆ มันเหนือวิทยาศาสตร์
                     
พระครูพิศาลจริยาภิรม เจ้าอาวาสพูดว่า อยากให้เป็นที่ปรากฏของชาวพุทธ ได้ทราบว่าตรงนี้เป็นรอยพระพุทธบาทอีกแห่งหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้!
                     
" ท่านผู้ว่าฯ นายอำเภอ และคนกรมศิลปากรได้ไปมาแล้ว "
                     
" จะสร้างมณฑป คนขึ้นไปจะได้นมัสการ หลังจากทอดกฐินปีนี้แล้ว "
                     
ผมเชื่อ! วัดถ้ำประดู่ วัดที่มีโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์เข้ามาดำเนินการ สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาแห่งนี้ จะเป็นที่เคารพยิ่ง แห่งชาวพุทธอย่างแน่นอน.

 

 

 

 

:: ขอขอบคุณ พี่พระ55 และคณะศิษย์วัดประดู่ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล :: Web Design Factory